สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ (4ปี)
                    (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Education Program in Special Education and English

ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ)
                   (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Education (Special Education and English)

ปรัชญา
              มุ่งผลิตครูที่มีคุณภาพสูง เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้ด้านการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษบนพื้นฐาน
ความรู้คู่คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

ความสำคัญ
             ปัจจุบันอาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพครูการศึกษาพิเศษมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผู้พิการให้ได้รับโอกาสความเท่าเทียมและพัฒนาทางการศึกษา และมีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน โดยเน้นความสำคัญการพัฒนาคนและพัฒนาสังคมจึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้และหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่งของครูก็คือ การปลูกฝังความรู้ ความคิดและจิตใจแก่เยาวชน เพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติบ้านเมือง

จุดเด่น      
         1. เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
         2. เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาพิเศษและภาษาอังกฤษ
การพัฒนาหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
         3. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทน ใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
         4. ความรอบรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพหรือการศึกษาในระดับสูงขึ้นในอนาคต
         5. มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
          1. ข้าราชการครูในสถานศึกษาของรัฐ หรือครูในสถานศึกษาเอกชน
          2. ข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น
          3. เจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรทางการศึกษาของหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
          4. นักวิชาการการการศึกษาพิเศษประจำโรงพยาบาล
          5. เจ้าของสถานศึกษาทางการศึกษาพิเศษ